Ads 468x60px

ท่าอุเทนเมืองธรรมมะ พระธาตุสูงงาม แม่น้ำสองสี ไดโนเสาร์ล้านปี ประเพณีไทญ้อ

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

การเลี้ยงอึ่งเพ้า สัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ เลี้ยงขาย รายได้ดี



เมนูเด็ดๆที่หากินได้แค่ฤดูฝนเท่านั้น นั้นก็คืออึ่ง โดยสายพันธุ์อึ่งที่นิยมกินกันนั้น จะเป็น อึ่งเผ้า อึ่งปากขวด หรืออึ่งโกก หรืออึ่งข้างลายนั้นเอง.เป็นอึ่งชนิดเดียวกันครับราคานั้นก็ไม่เบาเลยหละครับสูงถึงกิโลกรัมละ 250-300 บาท เลยทีเดียวด้วยการที่เป็นที่นิยมกินกันมากจึงทำให้อึ่งเผ้าหรืออึ่งปากขวดนั้นเริ่มหายากจะขอนำวิธีการเพาะเลี้ยงอึ่งเผ้า มาฝากครับ


อึ่งปากขวดหรืออึ่งเพ้า มีลักษณะเฉพาะตัวคือ มีความยาวจากหัวจรดถึงก้นประมาณ 73 มิลลิเมตร ลำตัวอ้วนป้อม มีลักษณะเด่นคือ หน้าสั้นมาก ปากแคบและทู่ไม่มีฟัน ไม่เหมือนกับกบหรืออึ่งอ่างชนิดอื่น ๆ ตาเล็ก ขาสั้น แผ่นเยื่อแก้วหูเห็นไม่ชัด ลำตัวสีน้ำตาลดำหรือสีเทาดำ ใต้ท้องสีขาว บางตัวอาจมีจุดกระสีเหลืองกระจายอยู่ทั่ว เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดเกาะติดอยู่ใช้สำหรับว่ายน้ำและมีสันใต้ฝ่าเท้าหลังใช้สำหรับขุดดิน อึ่งปากขวด พบในภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบเฉพาะพื้นที่ที่อยู่เหนือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ขึ้นไป


โดยมีพฤติกรรมอาศัยโดยขุดโพรงดินที่เป็นดินปนทรายและอาศัยอยู่ภายใน ในป่าที่มีความชุ่มชื้นใกล้กับพื้นที่ชุ่มน้ำ ในฤดูร้อนจะซ่อนตัวในโพรงแทบตลอด เมื่อฝนตกจะออกมาหากิน โดยหากินในเวลากลางคืน


ผสมพันธุ์และวางไข่ในช่วงต้นฤดูฝน โดยจะทำการผสมพันธุ์วางไข่เร็วกว่าอึ่งอ่างหรือกบชนิดอื่น ลูกอ๊อดมีลำตัวป้อมและโปร่งแสง ลำตัวเป็นสีเหลือง มีส่วนบนและส่วนล่างเป็นสีดำ จะหากินอยู่ในระดับกลางน้ำ โดยจะว่ายทำมุมประมาณ 45 องศา อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ ไปไหนมาไหนพร้อมกันเป็นฝูง อึ่งปากขวด ปัจจุบัน มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์มาก เพราะการถูกจับมาบริโภคและสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยเปลี่ยนไป


การเลี้ยงอึ่งปากขวดหรืออึ่งเผ้า 
ลักษณะบ่อเพาะเลี้ยงอึ่งโกก หรือ อึ่งเผ้า
- บ่อซีเมนต์ ขนาด 2X4X1 เมตร ผนังเรียบ
- พื้นบ่อเป็นทรายละเอียดหนา 50 ซม. อีกฝั่งหนึ่งทำเป็นบ่อน้ำขอบบ่อเสมอกับพื้นดินทราย
- หลังคาคลุมด้วยสแลนท์พลางแสง 80 %
- ขอบบ่อด้านบน วางแผนสังกะสีให้ด้านหนึ่งของสังกะสีเลยเข้ามาในบ่อประมาณ 15 นิ้ว กันอึ่งหนีออกบ่อ
 - ติดตั้งสปริงเกอร์ และ หลอดไฟฟ้า ในบ่อ 1 จุด


การเลือกพ่อแม่พันธุ์อึ่ง พ่อพันธุ์แม่พันธุ์อึ่งนั้นสามารถรวบรวมได้จากธรรมชาติ บริเวณป่าเต็งรัง ป่าโปร่ง ช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน (พบมากในช่วงฝนตกหนักครั้งแรกของฤดูฝน)


เมื่อรวบรวมมาได้แล้วให้คัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ดังนี้ 
เพศผู้ 
- ลำตัวมีสีดำเข้มข้างตัวมีลายดำจุดขาว
- ลำตัวเล็ก และ ยาวกว่าเพศเมีย
เพศเมีย 
- ลำตัวสั้น และ ใหญ่กว่าตัวผู้
- ข้างตัวมีลายจุดขาวอมเหลือง ผนังท้องบางมองเห็นไข่
- ตัวเมียที่มีไข่เต็มท้องโดยหงายดูที่ท้องจะเห็นไข่ลักษณะสีดำ


วิธีการเพาะพันธุ์อึ่งโกก หรืออึ่งเผ้า 
ใช้อัตราส่วนเพศผู้: เพศเมีย (1:1) จำนวน 1 – 2 คู่ ต่ออ่าง ใส่น้ำครึ่งอ่าง เมื่อเห็นไข่ลอยเต็มอ่างภายใน 11 – 12 ชม. ให้แยกพ่อแม่พันธุ์ออกจากอ่าง( แม่พันธุ์ 1 ตัวให้ไข่ 8,000 – 10,000ฟอง)ไข่จะฟักออกเป็นตัวภายใน 24 ชม.


 อาหารและการให้อาหารอึ่ง 
- ใน 3 วันแรกลูกอ๊อดไม่กินอาหาร เมื่อลูกอ๊อดอายุ 4 วัน เริ่มให้ไข่แดงต้มสุก บดให้ละเอียด วันละ 1 ครั้งในตอนเช้า ประมาณ 1/4 ฟอง ต่ออ่าง
- เมื่อลูกอ๊อดอายุ 7 วัน เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กโปรตีน 32 % 100 กรัมต่ออ่าง ให้วันละ 1 ครั้ง จนลูกอ๊อดอายุประมาณ 45 วัน หางลูกอ๊อดเริ่มหลุด
- หลังจากลูกอ๊อดหางหลุด อึ่งจะพัฒนาเหมือนตัวเต็มวัย และจะออกจากอ่าง ลงบนพื้นทรายในบ่อ
- ประมาณ 3 วัน อึ่งจะฝังตัวในทรายบนพื้นบ่อ


กรณี ให้อาหารเสริม เช่นปลวก และแมลง ให้เปิดสปริงเกอร์วันละ 1 ครั้ง และเปิดไฟล่อแมลงในบ่อตอนกลางคืน


อึ่งเมื่อมีภัยหรือถูกคุกคามจากสัตว์อื่น เช่น งู ตะขาบ ก็จะใช้วิธีการพองตัวด้วยการสูบลมเข้าท้อง พร้อมขับเมือกเป็นยางเหนียวออกมา ทำให้การจับหรือคาบของสัตว์อื่นมีการลื่นไหล อึ่งจึงสามารถสลัดตัวออกได้ง่าย สำหรับการจับอึ่ง หากไม่ใส่ถุงมือก็จะทำให้ยางอึ่งเกาะติดเต็มฝ่ามือได้ง่าย


วิธีการจับอึ่งจากการเพาะเลี้ยง 
- โดยการนำแผ่นสังกะสีวางบนหลังคาที่คลุมด้วย สแลนต์แล้วจึงใช้น้ำฉีดที่แผ่นสังกะสี(เป็นการเลียนแบบฝนตก) อึ่งเผ้าที่ฝังตัวอยู่ในทรายจะออกมา
- ปล่อยให้น้ำท่วมพื้นบ่อ อึ่งจะขึ้นมาบริเวณผิวน้ำสามารถคัดขนาดได้ตามต้องการ การป้องกันตัวเองของอึ่ง


วิธีการจับอึ่งในธรรมชาติ
1. การจับอึ่งกลางวัน จะจับได้ก็ต่อเมื่อมีฝนตกหนักจนเกิดแหล่งน้ำขัง ซึ่งอึ่งจะออกจากหลบอาศัยแล้วจะคลานหรือกระโดดเข้าหาแหล่งน้ำ ซึ่งคนจับจะคอยดักจับตามแหล่งน้ำนั้นๆ แต่บางพื้นที่ เมื่อฝนตกหนักก็มักจะออกเดินจับตามถนนหรือพื้นที่โล่งที่สามารถมองเห็นตัวอึ่งได้


2. การส่องอึ่งในเวลากลางคืนจะส่องในขณะที่ฝนตกหรือหลังจากฝนหยุดตกแล้ว ซึ่งหากเป็นฝนแรกๆ อึ่งที่ออกมาผสมพันธุ์จะออกมาเพื่อผสมพันธุ์ และหากเลยนั้นไป ส่วนมากจะเป็นอึ่งที่ออกหาอาหาร สำหรับการส่องอึ่งขณะฝนตกคนจับมักจะคอยดักจับตามแหล่งน้ำขังใหม่ โดยจะมุ่งไปยังแหล่งน้ำตามเสียงที่อึ่งร้องส่วนการส่องหลังฝนตก มักจะออกส่องตามโคนต้นไม้ จอมปลวกและตามลานดิน เพราะเป็นบริเวณที่อึ่งจะออกมาคอยดักกินแมงเม่า

3. การขุดอึ่ง ถือเป็นวิธีที่ไม่นิยม เนื่องจากเป็นวิธีที่ต้องหารูอึ่งก่อนขุดรูอึ่งนี้จะหายากมาก เพราะอึ่งมักขุดรูในขณะที่ฝนตกปรอยๆทำให้ไม่เห็นร่องรอยของรูอึ่งได้