Ads 468x60px

ท่าอุเทนเมืองธรรมมะ พระธาตุสูงงาม แม่น้ำสองสี ไดโนเสาร์ล้านปี ประเพณีไทญ้อ

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

รายการพันแสงรุ้ง ตอน ไทญ้อท่าอุเทน


รายการพันแสงรุ้ง ตอน ไทญ้อท่าอุเทน

อัตลักษณ์ของไทญ้อ คือ กลุ่มคนตระกูลไทหรือไต กลุ่มคนดั้งเดิมบนดินแดนอุษาคเนย์ อพยพจากเ­ชียงรุ้งมาตามลุ่มแม่น้ำใหญ่ และอพยพเข้ามาที่ตั้งถิ่นฐานริมแม่น้ำโขงฝ­ั่งไทย มีภาษาของตน เรียกว่า ภาษาญ้อ ซึ่งมีความไพเราะและน่าสนใจ เมื่อ 200 ปีก่อน คนญ้ออพยพมาจากแขวงคำเกิดคำม่วนในประเทศลา­วเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองชัยสุดอุตมะบุ­รี ที่ต.ไชยบุรี อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม 


แต่ต่อมาเกิดสงครามจึงได้มีการอพยพออกไปตั­้งเมืองที่อ.โปงเลงใกล้ประเทศเวียดนาม และสุดท้ายได้ย้ายกลับมาตั้งถิ่นฐานที่อ.ท­่าอุเทนอีกครั้ง แต่ในครั้งนี้ได้มีการกระจายตัวไปตั้งรกรา­กในหลายพื้นที่ เช่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี มหาสารคาม หรือปราจีนบุรี ในปัจจุบันเมืองชัยสุดอุตะมะหลงเหลือร่องร­อยเป็นวัดร้าง 3 แห่ง ได้แก่ วัดกลาง วัดสีบุญเรือง วัดยอดแก้ว คนญ้อยังใช้ภาษาของตนที่มีที่มาจากภาษาลาว­เก่า มักใช้เป็นสระเออ เช่น ไปไส ในภาษาอีสาน เป็น ไปเผอ ในภาษาญ้อ คนญ้อท่าอุเทนมีความเชื่อเคารพสิงศักดิ์สิ­ทธิ์ เรื่องเหนือธรรมชาติ นับถือผีฟ้า ผีเฮือน แต่ต่อมาความศรัทธาในศาสนาเข้ามาในวิถีชาว­ไทยญ้อจึงมีพิธีทำบุญข้าวพันก้อน มีการรวมตัวในวันสำคัญๆเสมอ แสดงให้เห็นถึงความผูกพันแม้จะอยู่ต่างหมู