Ads 468x60px

ท่าอุเทนเมืองธรรมมะ พระธาตุสูงงาม แม่น้ำสองสี ไดโนเสาร์ล้านปี ประเพณีไทญ้อ

วันพุธที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2560

เพาะพันธุ์กบและคัดพ่อพันธ์ุแม่พันธ์ุ


1. กบที่แนะนำให้ทำเป็นพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุนั้น 
นิยมกันอยู่ 2 สายพันธ์ุ คือ สายพันธุ์ กบพันธ์ุเหลือง ลักษณะกบพันธ์ุนี้จะมีลำตัวสีเหลืองอมเขียวกินอาหารเก่งโตเร็วมาก สายพันธ์ุ "กบนา" ซึ่งเป็นกบที่มีอยู่ทั่วไปในทุกภาคของประเทศไทย ลักษณะเด่นของ กบนา คือ มีลักษณะลำตัวสีน้ำตาลมีลายจุดสีดำ ผิวหนังจะขรุขระและมีรอยย่น น้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 250-400 กรัม ต่อตัว ส่วนตัวเมียจะมีน้ำหนักและขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ ประมาณ 50-150 กรัม


2. เลือกลูกกบที่จะมาเพาะเป็นพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุจาก สายพันธ์ุกบนา และกบเหลือง 
จะได้ลูกพันธ์ุที่ดี และแข็งแรง เพราะเมื่อนำกบสองสายพันธ์ุนี้มาผสมกัน จะก่อให้เกิด กบพันธ์ุลูกผสมขึ้นมา โดยเลือกพ่อพันธ์ุเป็นกบนา และแม่พันธ์ุใช้เป็นกบเหลือง จะได้ลูกกบออกมาเป็นผสมที่มีความแข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว เพราะได้จุดเด่นจากพ่อพันธ์และแม่พันธ์ุกบมารวมกัน ลูกกบที่ออกมาก็จะเป็นลูกกบพันธ์ุผสมที่สมบูรณ์ อายุของลูกกบที่พร้อมจะมาเพาะเลี้ยงเป็นพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุคือ อายุตั้งแต่ 2 เดือนขึั้นไป เลือกจากลักษณะตัวที่ใหญ่ แข็งแรงขนาดตัวประมาณ 2 นิ้ว ทั้งสองสายพันธ์ุ ให้เลือกมาทั้งสองเพศทั้งเพศผู้และเพศเมีย


3. แนะนำให้เลี้ยงในบ่อปูน 
ใช้บ่อที่มีความกว้างของบ่อประมาณ 1เมตรหรือ1.5เมตร วางซ้อนกันสองบ่อนะค่ะ บ่อหนึ่งจะสามารถใส่ลูกกบทั้งสองเพศคละรวมกัน ประมาณ 50-80 ตัวต่อบ่อ และเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกบตกใจง่ายกับสัตว์อื่นๆที่จะมารบกวน ควรปูพื้นบ่อด้วยกระเบื้อง ระดับน้ำในบ่อไม่ให้สูงเกินไป ให้ลูกกบได้อยู่แบบครึ่งบกครึ่งน้ำได้ เพื่อให้เหมือนกับธรรมชาติ ควรหาพืชน้ำมาใส่ในบ่อ และต้องทำที่กันแดดกันฝนให้ลูกกบด้วย ให้อาหารเป็นอาหารกบสำเร็จรูป ไม่ควรให้มากเกินวันละสองครั้ง เสริมวิตามินสำหรับลูกกบเพื่อช่วยในด้านความแข็งแรงและสมบูรณ์ไม่อมโรคของลูกกบเสริมไปด้วย ควรทำความสะอาดบ่อเมื่อเห็นว่าน้ำเริ่มไม่สะอาด ใช้ระยะเวลาเลี้ยงลูกกบประมาณ 8-9 เดือน ลูกกบจะมีน้ำหนักประมาณ 300-350 กรัม


4. ทำการแยกเพศกบ
เพื่อป้องกันการที่กบจะทำการผสมพันธ์ุก่อนถึงเวลา หรือว่ายังไม่สมบูรณ์เต็มที่นั่นเองวิธีดูว่ากบตัวไหนเป็นเพศอะไร พร้อมผสมพันธ์ุแล้วได้หรือยัง ให้สังเกตุดังนี้นะคะ
กบตัวผู้ 
จะมีถุงเสียงอยู่ที่ใต้คางและขนาดของกบตัวผู้จะเล็กกว่ากบตัวเมีย/จะมีส่วนหูใหญ่กว่าตา/สีบนตัวกบตัวผู้จะมีสีเหลืองสดมากกว่าตัวเมีย ถุงเสียงลักษณะเป็นรอยสีดำใต้คางไว้ส่งเสียงเรียกหาตัวเมีย เมื่อมีความพร้อมเต็มที่สีของลำตัวจะออกสีเหลือง ตุ่มตรงนิ้วเท้าด้านหน้าจะมีการขยายใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งมีไว้เกาะตัวตัวเมียตอนผสมพันธ์ุ ถ้าลองเอานิ้วสองนิ้วเราสอดเข้าไปใต้ท้องตัวผู้จะใช้ขาหน้าเกาะนิ้วเราแน่นมาก นั่นคือตัวผู้ที่พร้อมผสมพันธ์ุแล้วคะ
กบตัวเมีย 
จะมีขนาดใหญ่อ้วนกว่ากบตัวผู้ ไม่มีกล่องเสียง ส่วนหูและตาจะมีขนาดเท่ากัน กบตัวเมียลักษณะอูมขึ้นตรงช่วงท้อง จะมีการขยายขนาดใหญ่ขึ้นเคลื่อนไหวก็ช้าลงตรงข้างลำตัวจะมีตุ่มเล็กๆเกิดขึ้นเมื่อลูบดูจะสากๆมือเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงความพร้อมในการผสมพันธ์ุ


5. เมื่อได้ทำการคัดเอาพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุกบที่สมบูรณ์แล้ว
ก็ให้นำกบตัวผู้ซึ่งเป็นพันธุ์ กบนา ประมาณ 20 ตัว และกบตัวเมีย คือพันธ์ุกบเหลือง 16 ตัว ต่อ1 บ่อ สาเหตุที่ให้กบตัวผู้มากกว่านั้น คือกบตัวผู้จะชอบเกาะกันเองทำให้เสียโอกาสในการผสมพันธ์ุ น้ำที่ใช้เลี้ยงควรเป็นน้ำบาดาล และช่วงเวลาที่เหมาะแกการผสมพันธ์ุกบคือ ช่วงตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนตุลาคม เพราะอากาศจะดีเหมาะแก่การผสมพันธ์ุของกบ ถ้าให้เลยไปถึงหน้าหนาวกบจะเริ่มจำศีลไม่ค่อยกินอาหาร ทำให้ขาดความสมบูรณ์ ลูกอ๊อดจะได้จำนวนน้อยและไม่สมบูรณ์ ควรให้พ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุได้มีการพักการผสมพันธ์ุ เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะผสมพันธ์ุในรุ่นต่อไป


6. ช่วงเวลาในการปล่อยกบ
ทั้งตัวผู้ตัวเมียรวมกันในบ่อเพื่อผสมพันธ์ุคือ ช่วง6โมงเย็น ทำน้ำฝนเทียมตกลงไปบ่อเพื่อกระตุ้นให้กบอยากผสมพันธ์ุคือการเลียนแบบระบบของธรรมชาติ ปล่อยพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุไว้ในบ่อประมาณ 1 คืน พอช่วงเช้าของอีกวัน กบตัวเมียก็จะเริ่มวางไข่แล้วคะ ลักษณะของไข่กบจะมีสีน้ำตาลปนเขียว เป็นเม็ดกลมๆ เกาะกันเป็นกลุ่มก้อนลอยอยู่เหนือน้ำตามขอบบ่อและพืชผักที่เราใส่ไว้



7. พ่อแม่กบวางไข่แล้ว 
ให้เอาพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุแยกออกจากบ่อนั้น ประมาณ24ชั่วโมง หรือ1 วันไข่กบก็จะฟักตัวออกมาเป็นลูกอ๊อด ไม่ต้องให้อาหารลูกอ๊อดในช่วง1-2วันแรก เพราะลูกอ๊อดสามารถกินไข่แดงที่ติดตัวลูกอ๊อดออกมา ผลผลิตที่ได้จากการผสมพันธ์ุกบจากพ่อพันธ์ุและแม่พันธ์ุที่สมบูรณ์นั้น จะได้จำนวนลูกอ๊อดมากถึง 5000-6000 ตัวเลยทีเดียว และถ้าเป็นช่วงฤดูฝนก็จะยิ่งทำให้ได้จำนวนลูกอ๊อดเพิ่มมากขึ้น



8. พอลูกอ๊อดได้อายุ 3 วัน
ให้เริ่มให้อาหารได้แต่อย่าให้ในปริมาณที่เยอะมาก ให้ทำการเลี้ยงลูกอ๊อดในบ่อดินไว้แค่ ไม่เกิน 7 วัน ก็ให้ทำการย้ายลูกอ๊อดไปยังบ่อดิน หรือกระชังที่เตรียมไว้

ขอบคุณที่มา บ้านน้อยดอทคอม