ประเพณีไหลเรือไฟ
เป็นประเพณีที่จัดขึ้นทั่วไปในหลายจังหวัดทางภาคอีสานที่อยู่ติดกับลำน้ำ โดยมีความเชื่อ ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ที่สืบกันมาหลายชั่วอายุคน แต่การเริ่มต้นครั้งแรกเมื่อใดนั้น ไม่มีหลักฐานปรากฏชัดแจ้ง แต่นิษฐานว่าน่าจะมีมาก่อนที่พระพุทธศาสนา จะเผยแพร่มาสู่ประเทศไทย เนื่องจากสมัยก่อนพระมหากษัตริย์ไทยยังยืดถือพิธีพราหมณ์อยู่
ความเชื่อในประเพณีไหลเรือไฟ
สำหรับจังหวัดต่างๆ ที่มีการจัดประเพณีไหลเรือไฟ เช่น จังหวัดศรีษะเกษ จังหวัดเลย จังหวัดนครพนม จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุบลราชธานี และอื่นๆ มักจะมีพิธีกรรมที่คล้ายคลึงกัน ส่วนมูลเหตุของความเชื่อนั้นมีด้วยกันหลายประการ เช่น
เชื่อว่าเป็นการบูชาประทีปตามประเพณี จะก่อให้เกิดอานิสงส์แก่ผู้กระทำคือ การได้ถวายพุทธบูชาด้วยประทีปโคมไฟ จะทำให้เป็นผู้มีตาทิพย์ รู้แจ้งและเกิดปัญญา สำเร็จเป็นพระอรหันต์
เชื่อว่าเป็นการบูชาพญานาค ซึ่งเป็นผู้ดูแลรักษาแม่น้ำ และช่วยคุ้มครองคนที่สัญจรทางน้ำให้มีความปลอดภัย
เชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท จากตำนานได้กล่าวมาว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปโปรดเหล่าพญานาคที่ภพนาคก่อนเสด็จกลับ เหล่าพญานาคได้ขอให้พระพุทธองค์ทรงประทับรอยพระบาทไว้สักการะ ณ ริมฝั่งแม่น้ำ
เชื่อว่าเป็นการบูชาพระแม่โพสพ บูชาพระแม่คงคา ที่ประทานความอุดมสมบูรณ์ ให้แก่เหล่ามนุษย์
เชื่อว่าเป็นการบูชา วันพระเจ้าเปิดโลก ซึ่งได้ถูกกล่าวไว้ในธรรมบทว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จกลับไปชั้นดาวดึงส์ หลังจากสิ้นสุดการโปรดพุทธมารดา มีความเชื่อกันว่าวันนั้น สวรรค์ภูมิ มนุษย์ภูมิ นรกภูมิ จะเปิดให้เห็นกันทั่ว จึงได้เกิดประเพณีไหลเรือไฟเป็นพุทธบูชาก่อน 1 วัน ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
เชื่อว่าเป็นการบูชา วันพระเจ้าเปิดโลก ซึ่งได้ถูกกล่าวไว้ในธรรมบทว่า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเสด็จกลับไปชั้นดาวดึงส์ หลังจากสิ้นสุดการโปรดพุทธมารดา มีความเชื่อกันว่าวันนั้น สวรรค์ภูมิ มนุษย์ภูมิ นรกภูมิ จะเปิดให้เห็นกันทั่ว จึงได้เกิดประเพณีไหลเรือไฟเป็นพุทธบูชาก่อน 1 วัน ซึ่งตรงกับขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
เชื่อว่าเป็นการเสดาะเคราะห์ ประเพณีไหลเรือไฟยังมีความเชื่อสืบทอดกันมาอย่างยาวนานว่าเป็นการทำให้เคราะห์กรรมต่างๆ ลอยไหลไปกับสายน้ำ เหลือแต่สิ่งดีๆ ในชีวิต
การทำเรือสำหรับประกอบพิธีไหลเรือไฟ เรือไฟที่ใช้ในการประกอบพิธีนั้น มักประดิษฐ์มาจากต้นกล้วย หรือไม้ไผ่ต่อกันเป็นแพเรือยาว โดยสานไม่ไผ่เป็นโครงก่อน ส่วนรูปร่างนั้นทางช่างผู้ชำนาญจะเป็นผู้ออกแบบ ด้านนอกของเรือ จะมีดอกไม้ ธูปเทียน ตะเกียง และใต้สำหรับจุดให้เกิดความสว่างไสวเพื่อเป็นพุทธบูชา ส่วนภายในเรือจะบรรจุไปด้วยขนม ข้าวต้มมัด กล้วย อ้อย หมาก พลู บุหรี่ และเครื่องไทยทานต่างๆ
สำหรับพิธีกรรมไหลเรือไฟที่ถือปฏิบัติกันมานั้น ประกอบไปด้วย การไปทำบุญตักบาตรในตอนเช้า มีการถวายภัตตาหารเพลและเลี้ยงข้าวปลาอาหารแก่ญาติโยม พอถึงช่วงบ่ายก็จะมีการละเล่นต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน เช่น การรำวงฉลองเรือไฟ จากนั้นตอนพลบค่ำก็จะนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีสวดมนต์ และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
เมื่อถึงเวลาประมาณ 19-20 น. จะพิธีจุดไฟในลำเรือและปล่อยให้ล่องลอยไปตามแม่น้ำโขง เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา